เมนู

กถาว่าด้วยการชักชวนกันลัก


การชักชวนกันลัก ชื่อว่า สังวิธาวหาร. มีคำอธิบายว่า การลักที่ทำ
ด้วยความสมรู้ร่วมคิดกะกันและกัน.
บทว่า สํวิทหิตฺวา มีความว่า ปรึกษาหารือกัน ด้วยความเป็นผู้
ร่วมฉันทะกัน คือ ด้วยความเป็นผู้ร่วมอัธยาศัยกัน.

[

ภิกษุหลายรูปชวนกันไปลักทรัพย์ ต้องอาบัติหมดทุกรูป

]
วินิจฉัยในสังวิธาวหารนั้น ดังนี้ ภิกษุหลายรูปด้วยกัน ชักชวนกันว่า
พวกเราจักไปเรือน ชื่อโน้น จักทำลายหลังคา หรือฝา หรือจักตัดที่ต่อลัก
ของ. ในภิกษุเหล่านั้น รูปหนึ่งลักของได้, เป็นปาราชิกแก่ภิกษุทั้งหมด ใน
ขณะยกภัณฑะนั้นขึ้น. จริงอยู่ แม้ในคัมภีร์ปริวาร พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้
ตรัสคำนี้ว่า
4 คน ได้ชวนกันลักครุภัณฑ์ 3 คน
เป็นปาราชิก คนหนึ่งไม่เป็นปาราชิก
ปัญหานี้ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว*.

เนื้อความแห่งคำนั้น พึงทราบดังนี้ 4 คน คือ อาจารย์กับอันเตวาสิก
เป็นผู้ใคร่จะลักครุภัณฑ์ ราคา 6 มาสก. ใน 4 คนนั้นอาจารย์สั่งว่า คุณจง
ลัก 1 มาสก คุณจงลัก 1 มาสก คุณจงลัก 1 มาสก ฉันจักลัก 3 มาสก.
ฝ่ายบรรดาอันเตวาสิกทั้งหลาย อันเตวาสิกรูปหนึ่ง กล่าวว่า ใต้เท้าจงลัก 3
มาสก นะขอรับ ! คุณจงลัก 1 มาสก คุณจงลัก 1 มาสก ผมจักลัก 1 มาสก
แม้อันเตวาสิก 2 รูปนอกจากนี้ ก็ได้กล่าวอย่างนั้นเหมือนกัน. บรรดาชน
//* วิ. ปริวาร. 8/530.

4 คนนั้น มาสกหนึ่งของอันเตวาสิกคนหนึ่ง ๆ ในพวกอันเตวาสิก เป็นสาหัต-
ถิกอวหาร, เป็นอาบัติทุกกฏแก่อันเตวาสิกทั้ง 3 คนนั้น ด้วยมาสกหนึ่งนั้น.
5 มาสกเป็นอาณัตติกอวหาร, เป็นปาราชิกแก่อันเตวาสิกทั้ง 3 คนด้วย 5
มาสกนั้น. ส่วน 3 มาสก ของอาจารย์ เป็นสาหัตถิกะ, เป็นถุลลัจจัยแก่
อาจารย์นั้น ด้วย 3 มาสกนั้น. 3 มาสกเป็นอาณัตติกะ. แม้ด้วย 3 มาสกนั้น
ก็เป็นถุลลัจจัยเหมือนกัน. จริงอยู่ ในอทินนาทานสิกขาบทนี้ สาหัตถิกะไม่
เป็นองค์ของอาณัตติยะ หรืออาณัตติยะไม่เป็นองค์ของสาหัตถิกะ. แต่สาหัตถิยะ
พึงปรับรวมกับสาหัตถิยะด้วยกันได้. อาณัตติยะพึงปรับรวมกับอาณัตติยะด้วย
กันได้. เพราะเหตุนั้นแล ท่านจึงกล่าวว่า
4 คน ได้ชวนกันลักครุภัณฑ์ 3 คน
เป็นปาราชิก คนหนึ่งไม่เป็นปาราชิก ปัญหา
นี้ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว.*

อีกอย่างหนึ่ง เพื่อไม่ฉงนในสังวิธาวหาร พึงกำหนดจตุกกะแม้นี้
โดยใจความ คือ ของสิ่งเดียว มีฐานเดียว ของสิ่งเดียว มีหลายฐาน ของ
หลายสิ่ง มีฐานเดียว ของหลายสิ่ง มีหลายฐาน. ในจตุกกะนั้น ข้อว่า
ของสิ่งเดียว มีฐานเดียว นั้น คือ ภิกษุหลายรูป เห็นของมีราคา 5 มาสก
ซึ่งเขาวางไว้ไม่มิดชิด ที่กระดานร้านตลาด ของสกุลหนึ่ง จึงบังคับภิกษุ
รูปหนึ่งว่า คุณจงไปลักของสิ่งนั้น เป็นปาราชิกแก่ภิกษุทั้งหมด ในขณะที่ยก
ภัณฑะขึ้นนั้น.
ข้อว่า ของสิ่งเดียว มีหลายฐาน นั้น คือ ภิกษุหลายรูปเห็นมาสก
ซึ่งเขาวางไว้ไม่มิดชิด บนกระดานร้านตลาดห้าแผ่น ๆ ละมาสก ของสกุลหนึ่ง
//* วิ. ปริวาร. 8/530.

จึงสั่งบังคับภิกษุรูปหนึ่งว่า คุณจงไปลักมาสกเหล่านั้น เป็นปาราชิกแก่ทุกรูป
ในขณะที่ยกมาสกที่ 5 ขึ้น.
อ้างว่า ของหลายสิ่ง มีฐานเดียว นั้น คือ ภิกษุหลายรูปเห็นของมี
ราคา 5 มาสก หรือเกินกว่า 5 มาสก เป็นของ ๆ คนหลายคน ซึ่งวางไว้
ล่อแหลมในที่เดียวกัน จึงสั่งบังคับภิกษุรูปหนึ่งว่า คุณจงไปลักของนั้น เป็น
ปาราชิกแก่ทุกรูป ในขณะยกภัณฑะนั้นขึ้น.
ข้อว่า ของหลายสิ่ง มีหลายฐาน นั้น คือ ภิกษุหลายรูปเห็นมาสก
ของห้าสกุล ๆ ละหนึ่งมาสกซึ่งวางไว้ล่อแหลม บนกระดานร้านตลาดห้าแผ่น ๆ
ละหนึ่งมาสก จึงสั่งบังคับภิกษุรูปหนึ่งว่า คุณจงไปลักมาสกเหล่านั้น. เป็น
ปาราชิกแก่ทุกรูป ในขณะที่ยกมาสกที่ 5 ขึ้น ด้วยประการฉะนี้.
จบกถาว่าด้วยการชักชวนกันลัก

กถาว่าด้วยการนัดหมาย


กรรมเป็นที่หมายรู้กัน ชื่อว่า สังเกตกรรม. อธิบายว่า การทำ
ความหมายรู้กัน ด้วยอำนาจกำหนดเวลา. ก็ในสังเกตกรรมนี้ เมื่อภิกษุผู้ใช้
สั่งว่า คุณจงลักในเวลาก่อนอาหาร ภิกษุผู้รับใช้จะลักในเวลาก่อนอาหารวันนี้
หรือพรุ่งนี้ หรือในปีหน้าก็ตามที, ความผิดสังเกตย่อมไม่มี, เป็นปาราชิก
แม้แก่เธอทั้ง 2 รูป ตามนัยที่กล่าวแล้ว ในภิกษุผู้คอยกำหนดสั่งนั่นแล. แต่
เมื่อภิกษุผู้ใช้สั่งว่า คุณจงลักในเวลาก่อนอาหารวันนี้ ภิกษุผู้รับใช้ ลักในวัน
พรุ่งนี้, สิ่งของนั้น ย่อมเป็นอันภิกษุผู้รับใช้ลักมาภายหลัง ล่วงเลยกำหนด
หมายนั้น ที่ผู้ใช้กำหนดไว้ว่า วันนี้, ถ้าเมื่อภิกษุผู้ใช้สั่งว่า จงลักในเวลา
ก่อนอาหารพรุ่งนี้ ภิกษุผู้รับใช้ลักในเวลาก่อนอาหารวันนี้, สิ่งของนั้นย่อม
เป็นอันผู้รับใช้ลักมาเสียก่อน ยังไม่ทันถึงกำหนดหมายนั้น ที่ผู้ใช้กำหนดว่า
พรุ่งนี้, เป็นปาราชิก เฉพาะภิกษุผู้ลัก ซึ่งลักด้วยอวหารอย่างนั้นเท่านั้น,
ไม่เป็นอาบัติแก่ผู้ใช้ซึ่งเป็นต้นเหตุ ในเมื่อผู้ใช้สั่งว่า จงลักในเวลาก่อนอาหาร
พรุ่งนี้. ฝ่ายภิกษุผู้รับใช้ ลักในวันนั้นนั่นเอง หรือในเวลาหลังอาหารพรุ่งนี้
พึงทราบว่า ลักมาเสียก่อนและภายหลัง การนัดหมายนั้น. แม้ในเวลาหลัง
อาหารกลางคืนและกลางวัน ก็มีนัยเหมือนกันนี้. ก็ในสังเกตกรรมนั้น พึง
ทราบความถูกนัดหมาย และความผิดการนัดหมาย แม้ด้วยอำนาจแห่งเวลา
มีปุริมยาม มัชฌิมยาม ปัจฉิมยาม กาลปักข์ ชุณหปักข์ เดือน ฤดู และปี
เป็นต้น.